บังคับโดรนอย่างไรเมื่อไม่สามารถใช้ GPS ได้

สงครามอิสราเอล
May 24, 2021
ระบบสแกนม่านตา
June 11, 2021

บังคับโดรนอย่างไรเมื่อไม่สามารถใช้ GPS ได้

โดรนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบรักษาความปลอดภัยมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะสามารถทำงานได้ดีในแทบทุกสภาวะ แต่ในสถานที่ที่ GPS เข้าไม่ถึงก็เป็นปัญหาเหมือนกัน โดรนไร้ GPS จึงเป็นอุปกรณ์ที่เข้ามาแก้ไขปัญหานี้

ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้โดรนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และในภารกิจค้นหาและกู้ภัยในป่า อาจไม่สามารถพึ่งพาระบบ GPS ได้ โดรนไม่ใช้ GPS จึงมีประโยชน์มากหากคุณเป็นผู้บริการด้านระบบการรักษาความปลอดภัยที่ใช้โดรนในพื้นที่ดังกล่าว

 

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การทดสอบโดรนไร้ GPS ในครั้งแรกสำเร็จไปได้ด้วยดีที่ Yeruham พื้นที่พิเศษสำหรับการทดสอบโดรนของอิสราเอลที่ให้ความปลอดภัยในการบังคับการบินแบบ “นอกระยะการมองเห็น” (BVLOS) การทดสอบจัดขึ้นโดย NAAMA โปรแกรมการบินขนส่งโดรนของอิสราเอล โดยความร่วมมือของกระทรวงคมนาคมของอิสราเอล (MoT), บริษัท Ayalon Highways, สำนักงานการบินพลเรือนแห่งอิสราเอล (CAAI) และสำนักงานนวัตกรรมอิสราเอล (IAI)

 

โดรนไร้ GPS ทำงานอย่างไร?

เซนเซอร์ภาพจะช่วยให้โดรนรักษาสมดุลขณะบินได้ดีขึ้น และเซนเซอร์หลบสิ่งกีดขวางจะช่วยให้โดรนรู้ตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ และสามารถลงจอดในสถานที่ที่ GPS เข้าไม่ถึงได้ เซนเซอร์เหล่านี้ช่วยโดรนให้วิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ เช่น ความสูง ตำแหน่ง และความเอียงของตัวเองเพื่อรักษาสมดุลได้ทั้งขณะจอดและบิน Zacc Dukowitz ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัท Flyability กล่าว

 

อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้โดรนสามารถบินได้โดยไม่ต้องมี GPS คือการใช้ SLAM (ระบบเขียนแผนที่ขณะบิน) เป็นระบบที่โดรนใช้กล้องและเซนเซอร์ต่าง ๆ ในการสร้างภาพของสิ่งแวดล้อมได้แบบ real-time ขณะบิน โดย SLAM บางระบบเป็นเทคโนโลยี 2D LiDAR ซึ่งใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่ราบและเรียบเท่านั้น ในขณะที่ระบบใหม่ของ NT Robotics ที่เพิ่งออกเมื่อปีที่แล้ว ใช้เทคโนโลยี 3D LiDAR ช่วยให้โดรนสร้างแผนที่ที่ซับซ้อนกว่า คือ แผนที่ 3 มิติรอบตัวโดรน

 

 

ควรใช้โดรนไร้ GPS เมื่อไหร่?

มีหลายโอกาสที่โดรนไร้ GPS จะเป็นประโยชน์ และนี่คือตัวอย่างบางส่วน นอกเหนือจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่า จำนวนอุปกรณ์ที่พึ่งพา GPS ทั่วโลกเพิ่มขึ้นทำให้โอกาสที่ GPS จะถูกโจมตีจึงสูงกว่าแต่ก่อน

เนื่องจากโดรนสามารถถูกแฮกหรือถูกผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าควบคุมการทำงาน จึงอาจมีจำเป็นต้องใช้โดรนไร้ GPS แทน นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการพึ่งพาระบบ GPS เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบ GPS อย่างพายุสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์

ใช้ภายในอาคารและใต้ดิน: โดรนไม่สามารถใช้สัญญาณ GPS ได้เมื่อบินภายในพื้นที่ปิด เช่น หม้อไอน้ำอุตสาหกรรมหรือถังเก็บ เช่นเดียวกัน หากใช้โดรนในเหมืองใต้ดิน โดรนไร้ GPS ก็เป็นสิ่งจำเป็น

ใช้ในภารกิจกู้ภัย: โดรนอาจไม่สามารถเชื่อมต่อ GPS ได้เมื่อตามหาบุคคลสูญหายในป่าที่มีต้นไม้หนาแน่น เช่นเดียวกันกับภารกิจค้นหาและกู้ภัยอื่น ๆ ที่อาจเจอสภาพแวดล้อมที่มีอุปสรรคมาก

ใช้ในสถานที่เกิดภัยพิบัติ: ซากปรักหักพังหรือสิ่งกีดขวางอื่น ๆ อาจกีดขวางสัญญาณ GPS เมื่อปฏิบัติงานในสถานที่เกิดภัยพิบัติ โดรนที่สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ GPS เป็นสิ่งจำเป็นในสถานการณ์เช่นนี้

 

การผสานโดรนไร้ GPS เข้ากับระบบรักษาความปลอดภัย

โดรนไร้ GPS เป็นอุปกรณ์เสริมที่น่าสนใจในระบบรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เข้าถึงยากทั้งหลาย โดรนรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติเป็นที่นิยมในกลุ่มลูกค้า เนื่องจากมันสามารถตรวจการณ์ในสถานที่ที่ยากจะเข้าถึงหรืออันตรายได้ การใช้โดรนที่ไม่ต้องพึ่งสัญญาณ GPS จะทำให้ระบบป้องกันภัยทำงานได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น

 

 

 

ที่มา: www.asmag.com

แปลโดย: Pitsinee APS

Comments are closed.