ภาพทหารฝึกการรบภายในอาคารและใต้ดินในรัฐวอชิงตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 DARPA เพื่อทดสอบโดรนสำหรับภารกิจกู้ภัยในสถานที่ใต้ดินในเมือง ณ รัฐวอชิงตัน
โดรนไม่เหมาะกับการเคลื่อนที่ในพื้นที่ปิด ไม่ว่าจะเป็นอุโมงค์ ถ้ำ หรือภายในอาคาร แม้ว่าจะเป็นโดรนแบบ 4 หรือ 6 ใบพัดที่มีความเสถียรก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดข้องหรือชนเข้ากับกำแพง คน และสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ทว่าขณะนี้โดรนที่สามารถบินภายในตึกได้กำลังเป็นที่ถูกพิจารณา
The Times รายงานว่า กองบัญชาการยุทธศาสตร์ในสหราชอาณาจักร กำลังร่วมงานกับบริษัทอังกฤษเพื่อพัฒนาโดรนขนาด 3 ฟุต 6 ใบพัด ที่มีชื่อว่า i9 เพื่อทำงานในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในเมือง
“มันเป็นโดรนจู่โจมแรกของทหารสหราชอาณาจักรที่สามารถขับเคลื่อนภายในอาคารได้” กล่าวโดย The Times “การใช้ฟิสิกส์และ AI ช่วยให้มันสามารถแก้ปัญหาจุดอับสัญญาณ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้โดรนตก”
การพัฒนาโดรนที่สามารถเคลื่อนที่ในพื้นที่ปิดได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเป็นโจทย์ที่ยาก ดังนั้นหน่วยงาน DARPA จากสหรัฐ จึงจัดการแข่งขัน Subterranean Challenge circuit โดยให้แต่ละทีมสร้างโดรนและโปรแกรม AI นำทางและค้นหาเป้าหมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ แก๊สรั่ว หรือบุคคลที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ
ปัญหาที่หลายๆทีมพบ คือ ผนังถ้ำ เสาเหล็ก และผนังปูนในเมืองที่ทำให้ยากต่อการส่งสัญญาณวิทยุควบคุมโดรน ผู้เข้าแข่งขันจึงแก้ปัญหาโดยให้โดรนนำเสาส่งสัญญาณไปหย่อนไว้ หรือพึ่งพาการทำงานของระบบอัตโนมัติแทน
ทว่าระบบอัตโนมัติดังกล่าวทำให้ไม่สามารถควบคุมโดรนในกรณีฉุกเฉินได้ ซึ่งการควบคุมยังจำเป็นอยู่มากสำหรับโดรนติดอาวุธ
The Times รายงานว่า “โดรน i9 ยังถูกวาดภาพให้สามารถติดอาวุธอื่นๆ นอกจากการติดตั้งปืนสั้น จรวด และปืนกลด้วย” หมายความว่า โดรน i9 ถูกสร้างขึ้นเพื่อติดตั้งและใช้อาวุธโดยเฉพาะ
การระบุเป้าหมายด้วยโดรน มาจากการประมวลผลจากภาพที่กล้องได้รับมาและส่งต่อให้ระบบ AI ทำการติดตามเป้าหมายและทำภารกิจ ซึ่งจำเป็นต้องมีการให้คนเข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจยิงเสมอตามกฎของสงคราม และการทหารในปัจจุบัน The Times รายงานว่า ทหารใช้ระบบ live ในการตัดสินใจก่อนยิงด้วยโดรน i9 แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อสามารถควบคุมโดรนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
นอกจากนี้การรับแรงสะท้อนกลับของโดรนติดปืน และจรวดในปัจจุบันถูกออกแบบมาให้ใช้พื้นที่เปิด ซึ่งมีบริเวณในการถอยจากแรงสะท้อนได้อย่างปลอดภัย ขณะที่การยิงในพื้นที่ปิดอาจทำให้โดรนพุ่งชนเข้ากับกำแพงหรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และสูญเสียการควบคุม หากโชคดี ผู้ควบคุมโดรนอาจปิดการทำงานของอาวุธได้เมื่อโดรนเกิดขัดข้อง
เมื่อนำอุปกรณ์ต่อต้านศัตรูภายในอาคารอื่น ๆมาเทียบกับโดรน i9 แล้ว การยิงด้วยโดรนสร้างความเสียหายมากเกินไปจากการรัวปืนกลของระบบ AI ในขณะที่ทหารสามารถควบคุมการทำลายเป้าหมายด้วยขีปนาวุธขนาดเล็กได้ดีกว่า
ยังคงมีข้อสงสัยอยู่ว่า i9 จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ ผู้ออกแบบอาจสามารถสร้างระบบการสื่อสารภายในอาคารที่สามารถป้องกันปัญหาข้างต้นได้สำเร็จ และทำให้มนุษย์สามารถเข้าควบคุมอาวุธระบบกึ่งอัตโนมัตินี้ได้ในที่สุด
ที่มา: https://www.forbes.com/sites/kelseyatherton/2020/09/30/uk-mounts-shotguns-on-drone-for-urban-battles/?utm_medium=40digest.7days3.20200930.carousel&utm_source=email&utm_content=&utm_campaign=campaign#6c41ad7811dc
แปลโดย: Pitsinee APS