นักวิทยาศาสตร์ออกมาเผยว่า เครื่องจักรสามารถเรียนรู้ได้ด้วยความเร็วแสงแม้ไม่มีคนสั่งการ
นักวิจัยประสบความสสำเร็จในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI)โดยการใช้แสงแทนไฟฟ้าเพื่อการคำนวณ
วิธีการนี้ยกระดับประสิทธิภาพทั้งในด้านความเร็วและประสิทธิภาพเครือข่ายการเรียนรู้ของ AI อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นให้ลอกเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ เพื่อให้มันสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ทว่าหน่วยประมวลผลในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการเรียนรู้เรื่องที่มีความซับซ้อนเนื่องจากต้องใช้พลังงานสูง งานที่ยิ่งยาก ยิ่งต้องใช้ข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นและหมายความว่าเครื่องก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เครือข่ายดังกล่าวยังถูกจำกัดด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำอีกด้วย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตันในประเทศสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า การใช้โฟตอนในหน่วยประมวลผลด้วยระบบประสาทเทียม (TPUs) สามารถช่วยให้เราเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ และทำให้สามารถสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่มีพลังและประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้
ข้อมูลการวิจัยที่นำมาตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Aplied Physics Reviews เผยว่า TPU ที่ใช้โฟตอนสามารถทำงานได้มากว่า TPU ที่ใช้ไฟฟ้าถึง 2-3 เท่า
มาริโอ มิสคูกลีโอ หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า “เราพบว่าแพลตฟอร์มโฟตอนิคแบบผสมหน่วยความจำออปติคอลสามารถทำงานได้ไม่ต่างจากหน่วยประมวลผลประสาทเทียม (TPU) ในขณะที่มันใช้พลังงานน้อยกว่าและทำงานได้มากกว่า”
“เมื่อมันได้รับการเตรียมพร้อมมากพอ แพลตฟอร์มนี้จะสามารถใช้ทำงานได้ด้วยความเร็วแสง”
มีความเป็นไปได้สูงที่เครือข่าย 5G และ 6G จะถูกนำมาใช้ในนวัตกรรมการประมวลผลนี้ รวมไปถึงศูนย์รวมข้อมูลที่ต้องประมวลข้อมูลจำนวนมหาศาล
ดร.มิสคูกลีโอยังกล่าวอีกว่า “ระบบประมวลผลโฟตอนิคจะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างมาก และยังช่วยให้การทำงานเร็วขึ้นในขณะที่ลด data traffic ได้ด้วย”
Source: https://www.independent.co.uk/
แปลโดย: Pitsinee APS