Pavel Durov ผู้ก่อตั้งได้ออกมากล่าวว่า การสร้างรายได้จำเป็นต่อการทำให้ แอปพลิเคชัน Telegram ซึ่งมีผู้ใช้งานเกือบถึง 500 ล้านคนแล้วอยู่รอดต่อไปได้
Durov กล่าวว่า เขาเป็นผู้ออกทุนเองทั้งหมดในธุรกิจนี้มากว่า 7 ปีแล้ว แต่การขยายธุรกิจนี้ให้ไปถึงระดับสตาร์ทอัพนั้นจำเป็นต้องสร้างรายได้จากบริการนี้ เขาว่า “โปรเจกต์ที่กำลังทำอยู่นี้ต้องการรายได้อย่างน้อย 2-3 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐในการขับเคลื่อนธุรกิจ”
บริการที่มีผู้ใช้งานแล้วกว่า 400 ล้านคนในปีนี้จะทำการเพิ่มโฆษณาลงในแพลตฟอร์มในหลายรูปแบบ โดย Durov เขียนลงบน telegram channel ของตนเองว่า “โฆษณาในแบบ user friendly เคารพความเป็นส่วนตัวและช่วยให้เราครอบคลุมค่าใช้จ่ายของเซิร์ฟเวอร์และปริมาณการใช้งานได้”
“หากเราสร้างรายได้จากช่องสาธารณะในหลายรูปแบบผ่านการโฆษณา เจ้าของช่องเหล่านี้จะได้รับการเข้าชมฟรีตามขนาดผู้ติดตาม” การใช้พรีเมียมสติกเกอร์ หรือ “รูปแบบการแสดงออกเพิ่มเติม” ก็เป็นอีกทางในการสร้างรายได้ให้กับ Telegram “ศิลปินที่ทำสติกเกอร์ประเภทใหม่นี้จะได้รับกำไรส่วนหนึ่งด้วย เราต้องการให้ครีเอเตอร์และธุรกิจขนาดเล็กในTelegram ประสบความสำเร็จ และประสบการณ์ใหม่ ๆของผู้ใช้ทั้งหมด”
นักวิเคราะห์บางคนคาดหวังที่จะให้ Telegram สร้างรายได้จาก blockchain แต่หลังจากเกิดความล้าช้าและปัญหาในการจัดการทำให้ Telegram ประกาศยกเลิกโปรเจกต์นี้ไปในที่สุดในเดือนพฤษภาคม
สำหรับโปรเจกต์นี้ Telegram ในประเทศดูไบมีผู้มาลงทุนเพิ่มกว่า 1.7 พันล้านเหรียญในปี 2018 และมีแผนที่จะปล่อย token ออกไปในชื่อ grams หลังจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ และ Telegram ได้เสนอผลตอบแทน 1.2 พันล้านเหรียญให้กับผู้ที่มาลงทุนในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้
Durov เขียนว่า “Telegram มีความเหมือนกับ social network แบบ Twitter ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารแบบกลุ่ม ซึ่งอาจมีผู้ติดตามหลักล้านคน ซึ่งในตลาดส่วนใหญ่เจ้าของช่องจะหารายได้ผ่านการโฆษณา โดยโฆษณาเหล่านี้จะมาในรูปของข้อความและค่อนข้างล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว เราจะแก้ไขปัญหานี้โดยการแนะนำแพลตฟอร์มโฆษณาของเราเองสำหรับช่องสาธารณะแบบหลายรูปแบบ”
Durov ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิจารณ์ที่ใหญ่ที่สุดของ Facebook กล่าวว่า คุณสมบัติที่มีอยู่ทั้งหมดจะยังคงใช้งานได้ฟรี และยังเสริมอีกว่า Telegram จะไม่แสดงโฆษณาในการแชททั้งแบบตัวต่อตัวและการแชทกลุ่มเนื่องจากเป็น “ความคิดที่ไม่ดี”
Durov กล่าวว่าจะไม่ขายบริษัทเหมือนผู้ก่อตั้ง WhatsApp เพราะโลกต้องการให้ Telegram อยู่อย่างอิสระเพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพสูง และ Telegram จะเริ่มสร้างรายได้ตั้งแต่ปีหน้าโดยไม่ทำการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ สอดคล้องกับค่านิยมและคำมั่นสัญญาที่ทำมาตลอด 7 ปี และผู้ใช้ส่วนใหญ่จะไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา Telegram ได้เปิดตัวฟีเจอร์ Voice Chats แบบกลุ่ม ที่มีคุณลักษณะคล้ายกับ Discord ซึ่งจะเปิดเข้าผู้เข้าร่วมกว่าพันคนได้ตลอดเวลา
ที่มา: https://techcrunch.com
แปลโดย: Pitsinee APS