เรดาห์ ย่อมาจาก radio detection and ranging ซึ่งสามารถใช้ในงานอากาศยาน สภาพอากาศ ไปจนถึงการรักษาความปลอดภัยที่ถูกนำมารับใช้มากขึ้นในสมัยนี้
เรดาห์ถูกคิดค้นขึ้นมาในช่วงปี 1940 เป็นเทคโนโลยีที่ยิงสัญญาณไปยังวัตถุ เมื่อสัญญาณสะท้อนกลับมาจึงสามารถรู้ระยะทางและความเร็วของวัตถุนั้นได้ เมื่อเทียบกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆแล้ว เรดาห์มีประโยชน์ที่เหนือกว่า ดังนี้
“กล้องตรวจจับความร้อนมุ่งเน้นไปที่การตรวจอุณหภูมิ ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถพรางตัวเองด้วยการเดินใกล้กับกำแพงหรือโครงสร้างที่เป็นหินเพื่อให้ไม่สามารถจับความร้อนได้” มาร์ค เรนโบว์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจสำหรับสหราชอาณาจักรและการส่งออกที่ 360 Vision Technology กล่าวอีกว่า “ระบบตรวจจับความร้อนไม่สามารถวัดระยะของสิ่งที่ตรวจพบได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสัญญาณเตือนผิดพลาด”
ระบบกล้องวงจรปิดมักจะมีปัญหาในการมองเห็นในพื้นที่แสงน้อย ในขณะที่เรดาห์ทำงานแบบรับส่งสัญญาณที่สะท้อนกลับจากวัตถุ จึงตรวจสอบได้ทั้งเวลา กลางวันและกลางคืน
เรดาห์มีประโยชน์เหนือระบบจับความเคลื่อนไหวอินฟาเรด โดย เอวา มาเรีย บุคเครเมอร์ หัวหน้าฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ของ InnoSenT กล่าวว่า “เรดาห์เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการตรวจแบบ intrution เนื่องจากมันไวต่อการเคลื่อนไหวทุกรูปแบบ พร้อมทั้งเซนเซอร์ตรวจระยะและองศาของวัตถุ ช่วยลดการเกิดการเตือนผิดพลาดเมื่อใบไม้ไหวได้”
เรดาห์ เป็นเครื่องมือทำงานได้ในทุกสภาพแวดล้อม สามารถใช้งานได้ในหลายรูปแบบดังนี้
เรดาห์มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอก “เรดาห์ถูกเลือกใช้ในพื้นที่โล่งเพราะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้หลายรูปแบบ มีความแม่นยำ และความสามารถในการแจ้งเตือนแบบรอบทิศทางในสนามบิน, ท่าเรือ, เรือนจำ, พื้นที่ VIP, การประกอบรถยนต์, การบำบัดน้ำเสีย, และสนามโซล่าเซลล์ เป็นต้น
เราดาห์ เป็นระบบตรวจจับความเร็วที่ดี การจำกัดความเร็วบริเวณโรงเรียนและบ้านพักอาศัยเป็นเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน เรดาห์เป็นเครื่องมือวัดความเร็วที่แม่นยำที่จะช่วยเตือนผู้ขับขี่หากขับเร็วกว่ากำหนดด้วยการส่งสัญญาณเตือนได้อย่างทันท่วงที
เรดาห์สามารถตรวจและแจ้งเตือนหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นยามวิกาลในสถานก่อสร้างหรือสระว่ายน้ำได้ และยังสามารถเตือนภัยหากมีผู้บุกรุกอีกด้วย เรดาห์จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับความปลอดภัยส่วนบุคคล
การเลือกเรดาห์ขึ้นอยู่กับการใช้งาน การเลือกใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงจะเป็นประโยชน์สูงสุดเพราะสามารถหลบพ้นคลื่นรบกวนอื่น ๆ ที่ถูกใช้งานในปัจจุบัน
การติดตั้งเรดาห์ควรคำนึงถึงหลายสิ่ง อาทิ พื้นที่และความสูงของพื้นที่ที่จะติด และระยะมองเห็นในบริเวณนั้น
เรดาห์ต้องการพื้นที่ที่เปิดโล่งเพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหว ควรติดตั้งสูงกว่าพื้นที่โดยรอบประมาณ 3-4 เมตร เนื่องจากเรดาห์ไม่สามารถตรวจทะลุอาคารหรือต้นไม้ได้
ที่มา: www.asmag.com
แปลโดย: Pitsinee APS